วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย

     1.อักษรสามหมู่ (ประถมศึกษาปีที่2)


       ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน
คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรยฺ (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน

การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์
ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห 
อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ 
อักษรต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ 
การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์นั้น มีหลักฐานปรากฏครั้งแรกในหนังสือจินดามณี เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา เข้าใจว่าเป็นผลงานของพระโหราธิบดีได้แต่งถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในเรื่องนี้


ประโยคช่วยจำหมวดหมู่ไตรยางศ์
อักษรสูง

ของ(ข)ของ(ฃ)ฉัน(ฉ)ถูก(ฐ ถ)เผา(ผ)ฝัง(ฝ)เสีย(ศ ษ ส)หาย(ห) 
หรือผี (ผ) ฝาก (ฝ) ถุง (ถ ฐ) ข้าว (ข ฃ) สาร (ศ ษ ส) ให้ (ห) ฉัน (ฉ) 
อักษรกลาง

ไก่(ก)จิก(จ)เด็กตาย(ฎ ฏ)เด็กตาย(ด ต)บน(บ)ปาก(ป)โอ่ง(อ) 
ที่เหลือเป็นอักษรต่ำ

อักษรคู่
ในการจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์ อักษรสูงและอักษรต่ำจำนวนหนึ่ง มีลักษณะเสียงอย่างเดียวกันแต่ในพื้นเสียงต่างกัน นั่นคือ พวกหนึ่งมีพื้นเสียงสูง อีกพวกหนึ่งมีพื้นเสียงต่ำ สามารถจัดเป็นคู่ได้ 7 คู่ เรียกว่า "อักษรคู่"

อักษรสูง อักษรต่ำ 
ข ฃ ค ฅ ฆ 
ฉ ช ฌ 
ฐ ถ ฑ ฒ ท ธ 
ผ พ ภ 
ฝ ฟ 
ศ ษ ส ซ 
ห ฮ 

อักษรคู่เหล่านี้ สามารถนำมาใช้ร่วมกันเพื่อผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง เช่นเดียวกับอักษรกลาง เช่น

คา - ข่า - ข้า/ค่า - ค้า - ขา 
ฮา - ห่า - ห้า/ฮ่า - ฮ้า - หา 
สำหรับอักษรต่ำที่เหลือ คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ จะใช้ ห เป็นอักษรนำเพื่อให้สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ เช่น

นา - หน่า - หน้า/น่า - น้า - หนา 
วา - หว่า - หว้า/ว่า - ว้า - หวา 
หมายเหตุ ปัจจุบันไม่มีคำศัพท์คำใดที่ใช้ หณ และ หฬ เป็นพยัญชนะต้น

แหล่งที่มา




2. มาตราตัวสะกดในภาษาไทย
(ประถมศึกษาปีที่ 3)





   มาตราตัวสะกดมีทั้งที่ใช้ตัวสะกดตรงแม่ และมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงแม่ การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่างๆ ทำให้เขียนและอ่านคำได้ถูกต้อง
              มาตราตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ในแม่ ก กา ทำให้แม่ ก กา มีตัวสะกด เช่น มี เมื่อประสมกับ ด ลายเป็น มีด เป็นต้น
              มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น มา เสือ ตัว มือ เสีย ดำ ฯลฯ ส่วนมาตราตัวสะกดมีทั้งหมด ๘ แม่ คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน แบ่งได้ดังนี้
๑. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี ๔ มาตรา คือ
                            แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น หาง ปลิง สอง งง แรง ฯลฯ
                            แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลม แต้ม โสม มุม งอม สนาม ฯลฯ
                            แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น สาย ลอย โปรย เฉย ปุ๋ย ฯลฯ
                            แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น แห้ว กาว เปรี้ยว เปลว ฯลฯ
                    ๒. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี ๔ มาตรา คือ
                            แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น นาน วิญญาณ วานร กาลเวลา พระกาฬ ฯลฯ
                            แม่กก ใช้ ก ข ค ฆ สะกด เช่น ปัก เลข วิหค เมฆ ฯลฯ
                            แม่กด ใช้ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น แปด ตรวจ ก๊าซ บงกช กฎหมาย ปรากฏ อิฐ ครุฑวัฒนา เปรต โอสถ บาท โกรธ กระดาษ รส เลิศ ฯลฯ
                            แม่กบ ใช้ บ ป ภ พ ฟ สะกด เช่น กลับ บาป ลาภ นพรัตน์ กราฟ ฯลฯ

                 แม่ กก

           มาตราแม่ กก     เป็นคำที่ประสมกับสระต่างๆ และมี ก
เป็นตัวสะกด เช่น ผัก นก เลือก
         นอกจากนี้ คำที่ประสมสระต่างๆ และมี ข ค ฆ เป็น
ตัวสะกดและ อ่านอ่านออกเสียงอย่าง ก สะกดก็เป็นคำในมาตรากก เช่น สุนัข โชค เมฆ  

                แม่ กง

            มาตราตัวสะกดแม่ กง  คือ คำที่ประสมด้วยสระต่าง ๆ
  และมี ง เป็นตัวสะกด เช่น กลอง ธง กลาง เตียง กางเกง ลิง ผึ้ง
  ร้องเพลง แป้ง แกง แห้งแล้ง เป็นต้น

          แม่ กด
          มาตราแม่ กด คือคำที่ ด เป็นตัวสะกด และคำที่มีเสียง
เหมือน ด เป็นตัวสะกดได้แก่คำที่มีตัวสะกดเป็นพยัชนะต่อไปนี้
คือ  จ  ฉ  ช  ฌ  ซ  ฎ  ฏ  ฑ  ฒ  ฐ  ด  ต  ถ  ท  ธ  ศ  ษ  ส   อาจ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวสะกดแม่ กด

        แม่ กน
     มาตราแม่ กน   คือ  พยางค์ที่ออกเสียงเหมือนมีตัว  "น"  
สะกด   พยัญชนะที่ใช้เป็นตัวสะกดในมาตราแม่ กน   ได้แก่  
น   ณ   ญ   ร   ล   ฬ

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กน
        กระตือรือร้น  กันแสง  ขมีขมัน  ขึ้นแท่น  คำประพันธ์ 
จินดา ชันษา ชุลมุน  ดูหมิ่น  ต้นหว้า  โต๊ะจีน พระชนนี

     แม่ กบ
        มาตราตัวสะกดแม่ กบ  คำที่ประสมกับสระต่าง ๆ และมี
บ เป็นตัวสะกดตรงมาตรา และมี
ป พ ภ ฟ เป็นตัวสะกด แต่ออกเสียงเหมือน บ สะกด เช่น ลบ รูป
ลาภ ภาพ ยีราฟ เป็นต้น

   แม่ กม
        มาตราตัวสะกดแม่ กม คือคำที่ประสมด้วยสระต่าง ๆ
และมี ม เป็นตัวสะกด

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม
       
        กระหม่อม คำราม จริยธรรม ชมรม ถล่ม ทะนุถนอม ทิม
ทุ่ม บรรทม บังคม เปรมปรีดิ์
พฤติกรรม ภิรมย์ แยม หยาม อาศรม

   แม่ เกย
        มาตราตัวสะกดแม่ เกย คือคำที่ประสมด้วยสระต่างๆ ย เป็นตัวสะกด

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกย
    กระจ้อยร่อย ข่าย ชีวาลัย ทยอย นโยบาย เนย
เนื้อทราย เปรียบเปรย พระทัยโพยภัย ภูวไนย เสวย มโนมัย วินัย สาหร่าย

แม่ เกอว
        มาตราตัวสะกดแม่ เกอว คือคำที่ประสมด้วยสระต่างๆ
และมี ว เป็นตัวสะกด

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกอว
        กริ้ว  ก๋วยเตี๋ยว  ข้าวยำ  ข่าวลือ  จิ๋ว  เจื้อยแจ้ว
ดาวฤกษ์  ต้นงิ้ว  ท้าวไท ทาวน์เฮ้าส์  ประเดี๋ยว  ยั่ว เลิกคิ้ว
หิวข้าว  เหว  อ่าว

แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/thai043/matra-taw-sakd






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น